คลังเก็บป้ายกำกับ: ระบบ Cloud

OpenStack ปะทะ VMware

ต้องบอกว่าตอนนี้การแข่งขันทางด้านเทคโนโลยี ถือว่ากำลังมาแรง ยิ่งถ้าพูดถึงเทคโนโยอย่าง Private Cloud ในตอนนี้ ทั้ง OpenStack และ VMware ต่างก็ถือว่าเป็นคู่แข่งกันในด้านการเป็นตัวเลือกยอดนิยมมาโดยตลอด แต่การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ทั้ง IoT และ NFV อาจทำให้ OpenStack กลายมาเป็นฝ่ายได้เปรียบในสงครามครั้งนี้

แม้หลายๆ องค์กรใหญ่จะใช้งาน VMware มานาน แต่ฝ่ายบริษัทผู้ให้บริการทาง IT กลับจะดูชอบพอ OpenStack กันเสียมากกว่า ซึ่งผลสรุปของตลาดการแข่งขันที่จะกระเทือนทั้ง OpenStack และ VMware อาจขึ้นอยู่กับ IoT และ NFV ล้วนๆ

Virtual Resources ได้สร้างความยุ่งยากอีกระดับให้กับทีม Operation ของ Data center โดยทั่วไปแต่ละองค์กรจะ Install และ Integrate แต่ละ Application แบบ Manual หรือใช้งาน Simple operating system scripting languages เป็นหลัก แต่วิธีนี้ค่อนข้างเสี่ยงต่อการเกิด Configuration Error ในการ Deploy application ลง Resource pool ดังนั้นองค์กรสมัยนี้เลยหันมาใช้ DevOps Tools ให้ช่วย Deploy แต่ด้วยความที่ Tools เหล่านี้สามารถใช้งานได้ทั้งกับ OpenStack และ VMware จึงยังไม่ค่อยมีใครได้เปรียบเสียเปรียบนักในสงคราม Cloud นี้

NFV สะเทือนสนามรบ OpenStack และ VMware

เมื่อไม่นานมานี้ Network Operator หลายๆ เจ้าได้พัฒนา Specification ใหม่ที่ทำให้ Cloud hosting ที่สามารถรองรับ Network Feature ได้ โดยเรียกมันว่า NFV (Network Functions Virtualization) ซึ่ง NFV เป็นเหมือน Cloud application ที่ถูกแปลงมาเป็น Network Feature อย่างหนึ่ง โดยเกือบทั้งหมดของ NFV Implementations ต้องใช้ Cloud Deployment Tools มาเป็น Interface ของ Resources และด้วยความที่ OpenStack เองก็เป็น Open Source จึงสนับสนุนและทำงานร่วมกับ NFV ได้เป็นอย่างดี ผิดกับ VMware ที่ล่าช้าไปหน่อยกว่าจะพัฒนา Tools ที่เข้ากับ NFV ขึ้นมาได้

ในอีก 5 ปีข้างหน้า การ Hosting network feature อาจกลายมาเป็น Data Center Deployment แหล่งใหญ่ที่สุดได้ และถ้า OpenStack มีบทบาทใน NFV มากๆ เข้า จะทำให้ OpenStack ก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านการใช้งาน Cloud รูปแบบใหม่นี้ทันที ยิ่งเมื่อเหล่า Network Operator เริ่มใช้ NFV Data Center เพื่อให้บริการ Public Cloud ถึงตอนนั้น OpenStack-based private cloud ก็สามารถกลายมาเป็น Hybrid Cloud ได้ง่ายขึ้น เสริมความแข็งแกร่งของ OpenStack ในตลาด Cloud ไปอีกขั้น

NFV คือรูปแบบหนึ่งของ Cloud Computing ที่มีทั้งความน่าเชื่อถือและความรวดเร็ว ถูกออกแบบมาให้รองรับ Tenant Service ได้เป็นล้านๆ สามารถตั้งค่า Automate ในส่วนการ Deployment และ Management Process เพื่อคุมค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งองค์กรทั้งหลายและผู้ให้บริการ Public Cloud ต่างก็สนใจในความสามารถพวกนี้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยถ้า Tools และ Features ของ NFV จะถูกใช้กันโดยทั่วไปตามองค์กรต่างๆ และยิ่งถ้า Tools เหล่านี้ถูกออกแบบมาให้เข้ากับ OpenStack ได้ดีกว่า VMware แล้วล่ะก็ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าใครจะเป็นผู้นำแต้มต่อในวงการนี้ในอนาคต

ผลกระทบครั้งใหญ่ของ IoT ต่อ OpenStack  และ VMware

IoT หรือ Internet of Things เป็นอีกเทรนด์ที่ส่งจะผลกระทบต่อกลุ่ม Network Operator เป็นอันดับแรก ด้วยการสร้าง Platform และ Tools ใหม่ๆ ขึ้นมา โดย IoT มีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน องค์ประกอบแรกคือส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง Sensor กับ Controller และส่วนที่คอยแปลงข้อมูลของ Sensor กับ Controller ให้เป็น Format สำหรับการเข้าถึง Application อย่างปลอดภัย อีกองค์ประกอบหนึ่งของ IoT นั้นจะคล้ายๆ กับโกดังเก็บ Big Data และพวก Application คุมระบบต่างๆ เช่น process control, vehicle/traffic control และ mobile contextual services based on location จะว่าไปก็เหมือนกับเป็น Cloud Applications หรือ NFV Functions รูปแบบหนึ่ง

ซึ่งทุกวันนี้เทคโนโลยี Cloud Computing ที่องค์กรส่วนใหญ่เลือกใช้มักจะเป็นพวกบริการ Public Cloud เพื่อเข้ามาเป็นส่วนขยายของ Data Center Virtualization และ Hosting โดย Application ที่สร้างไว้ใน Cloud ก็จะมีความคล้ายคลึงกับ Web และ Front-end technology ที่นำมาประยุกต์กับ Data Center Application แบบเก่า แต่ IoT นั้นต่างออกไป มันจะกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่แจกจ่ายการทำงานของ Data และ Processing ได้พร้อมๆ กัน ทั้งยังสามารถ Redefining Workflow เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อีกด้วย ดังนั้นแนวโน้มที่ IoT จะเข้าไปมีบทบาทร่วมใน Data Center และ Public Cloud ของแต่ละองค์กรจึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

จากการที่ Network operator หลายแห่งเลือกใช้งาน Open source ซึ่งแน่นอนว่ามักจะหมายถึง OpenStack สำหรับ NFV ย่อมส่งผลให้ OpenStack กลายมาเป็นที่นิยมสำหรับ IoT Platform ด้วยเช่นกัน เนื่องจาก IoT Application มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Network Function อย่างไรก็ดี ความนิยมของ OpenStack จะนำขึ้นมาเหนือ VMware ได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่า NFV จะถูกพัฒนาและนำมาปรับใช้ได้เร็วแค่ไหนนั่นเอง

 

Cloud Servers?

ทุกวันนี้เราจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีของ Cloud หรือ Cloud Computing ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ในอนาคตจะมีการเอา Cloud Computing ไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ จึงทำให้หน่วยงานหลายๆหน่วยงาน เริ่มให้ความสนใจกับระบบ Cloud มากขึ้น

คลาวด์ หรือ Cloud Computing คือการทำงานของ Server ขนาดใหญ่ ที่ทำงานด้วย Sever หลายๆ เครื่อง โดยแบ่งชั้นการประมวลผลออกจากชั้นเก็บข้อมูล เป็นการร่วมกันทำงานของ Server หลายๆ เครื่อง มีผลดีคือเมื่อ Server ใด Sever หนึ่งเกิดความเสียหายขึ้นก็จะไม่ส่งผลกับการใช้งานของผู้ใช้บริการ เพราะระบบจะทำการย้ายไปทำงานในเครื่องใหม่โดยอัตโนมัติ ซึ่งก็แสดงถึงความปลอดภัยของข้อมูลของผู้ใช้บริการนั่นเอง

 

ข้อดีของบริการ Cloud Server มีดังนี้

ความยืดหยุ่น : สามารถดึงทรัพยากรเพิ่มเติมมาใช้ได้เมื่อต้องการ

คุ้มค่าใช้จ่าย : คิดค่าบริการเมื่อมีการใช้งาน ผู้ใช้บริการจ่ายค่าบริการตามจำนวนค่าใช้งานจริงในแต่ละช่วงเวลาเท่านั้น

ติดตั้งง่าย : Cloud Server ไม่มีการตั้งค่าเริ่มต้นที่วุ่นวายมากนัก

เชื่อถือได้ : เพราะมี Server สำหรับให้บริการอยู่หลายตัว ถ้าตัวไหนเกิดมีปัญหาขึ้นมา แหล่งทรัพยากรก็จะย้ายไป Server อื่นทันทีโดยไม่กระทบต่อการใช้งานของผู้ใช้บริการ

ซึ่งในปัจจุบัน Cloud ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการใช้งาน Web Hosting มากขึ้น อาจเป็นเพราะ Cloud สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านการลงทุนซื้อ Server ได้ สามารถเลือกจ่ายค่าบริการเท่าที่ทางองค์กรเลือกใช้ และยังมีบริการให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น Web Site , VM หรือ VPS , Mobile Service , Storage , Etc.

 

ไขข้อข้องใจ Private Cloud หรือ Public Cloud ต่างกันอย่างไร? ควรเลือกแบบไหนดี?

บางคนอาจยังมีข้อข้องใจเกี่ยวกับระบบ Cloud ในส่วนของ Private Cloud และ Public Cloud ว่ามันทำงานแตกต่างกันอย่างไง เรามาไขข้อข้องใจเรื่องการทำงานที่แตกต่างกันระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud กัน เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังลังเลวาจะใช้บริการแบบไหนดี

 

Private Cloud

Private Cloud ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ internal หรือ Enterprise Cloud จะอยู่ในระบบ Intranet หรือ Data Center ภายในของบริษัท ซึ่งมีการรักษาความปลอดภัยด้วยระบบ Firewall

โดย Private Cloud ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีตัวหนึ่งสำหรับองค์กรที่มี Data Center คุณภาพสูงอยู่แล้ว เนื่องจากสามารถใช้ Infrastructure ของตนได้เลย แต่ข้อเสียก็คือว่าผู้ใช้บริการจะต้องซ่อมบำรุง รวมไปถึง

อัปเดต Data Center  ทั้งหมดด้วยตัวเอง และยิ่งนานวันเข้า Server ต่างๆ ย่อมมีการเสื่อมสภาพไป หากต้องการการปรับเปลี่ยนหรือซื้อของมาแทนที่ ก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่สิ่งที่จะได้กลับมาจากการใช้ Private Cloud ก็คือจะมีระบบการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง ทั้งยังมีความเป้นส่วนตัวสูงมาก เหมาะกับองค์กรที่มีข้อมุลอันเป็นความลับเป็นจำนวนมาก ทำให้มั่นใจในการใช้บริการได้

 

Public Cloud

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งของ Private Cloud และ Public Cloud ก็คือทางองค์กรไม่ต้องรับผิดชอบต่อภาระการจัดการใดๆ ในระบบเลย หากใช้ Public Cloud เพราะข้อมูลจะถูกเก็บไว้ใน Data Center ของผู้ให้บริการ รวมไปถึงเรื่องของการอัพเดตระบบต่างๆ ก็เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการเช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ Public Cloud ตอบโจทย์กับหลายๆรกิจ เพราะจะทำให้สามารถไปให้ความสนใจกับงานหลักของตนได้เต็มที่ ทั้งยังใช้ทุนที่ไม่สูง และยังช่วยลดความล่าช้าในการ Test และ Deploy Products ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ดีเนื่องจากบริการ Public Cloud เป็นบริการที่แหล่งทรัพยากรอาจจะมาจากแหล่งเดียวกัน จึงทำให้องค์กรใหญ่ๆ บางแห่งหันไปใช้บริการ Private Cloud ที่มีความปลอดภัยสูงกว่า แต่ในขณะเดียวกัน กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลางจะให้ความสนใจกับ Public Cloud มากกว่า แต่ถ้าคุณเป็นคนเลือก คุณจะเลือกแบบไหนกันล่ะ?

OpenStack เป็นผู้นำ Private Cloud ไม่ได้ ถ้าขาด AWS

OpenStack กำลังมาแรงเป็นกระแสกับบริการ Private Cloud แต่มันอาจยังไม่เพียงพอสำหรับตลาดการแข่งขันในตอนนี้ อีกทั้งการจะประสบความสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับ AWS อย่างเลี่ยงไม่ได้

Alan Waite นักวิเคราะห์แห่ง Gartner กล่าวว่า OpenStack ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานค่อนข้างเยอะ มีเพียงไม่กี่เคสที่มีการใช้งานเหมาะกับ OpenStack ดังนั้น OpenStack ต้องหาวิธีที่จะทำให้ คลาวด์ ของตนทำงานร่วมกับ Public Cloud ได้มากกว่านี้ และ OpenStack ยังต้องพึ่งพา AWS (Amazon Web Service) แต่ติดปัญหาตรงที่ AWS ไม่ได้ต้องการ OpenStack มากเท่า OpenStack ต้องการ AS

Private หรือ Public ดี?

OpenStack ต้องมอง AWS ในฐานะ Partner ให้ความสำคัญกับ AWS API รวมไปถึง Azure API ที่นับเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในตลาด Robert Cathey PR ของ OpenStack ออกมาชี้ปัญหาของเรื่องนี้ว่า AWS ไม่เห็น OpenStack เป็น Partner ที่คู่ควร แม้ว่าทาง OpenStack จะเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องร่วมงานกับ AWS ก็ตาม ที่เป็นแบบนี้เนื่องจาก AWS ยืนยันที่จะยึดติดกับ Public Cloud ของตัวเองเป็นหลัก ถึงขั้นบอกว่า Private Cloud ไม่ถือว่าเป็น คลาวด์ เพราะมันทำให้พลาดข้อได้เปรียบทั้งหมดของการทำงานในระบบ Cloud

บางฝ่ายอาจพุ่งเป้าไปยังราคาที่ค่อนข้างสูงของ Private Cloud ตามที่ 451 Research จะพยายามเปิดเผย แต่ที่จริงแล้วราคาของ Private Cloud มีความคลุมเครือไม่ต่างจาก Server-based สักเท่าไหร่ อีกทั้งเรื่องราคาไม่ใช่ประเด็นหลักที่ทำให้ผู้คนย้ายมาใช้งาน Public Cloud ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการใช้งานมากกว่า

ความหวังสุดท้ายของ Private Cloud

สำหรับหลายๆ บริษัทแล้ว Hybrid Cloud ก็ไม่ต่างอะไรกับ Private Cloud รูปแบบใหม่ หลังจากที่ Private Cloud เดิมไม่สามารถทำได้อย่างที่ต้องการ Hybrid Cloud จึงเป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการมือรองหวังที่จะใช้แข่งกับ Amazon และ MicroSoft ทั้งยังกลายมาเป็นทางออกของเหล่าบริษัทที่เห็นแล้วว่า Private Cloud ส่วนตัวไม่เวิร์ค จนต้องเริ่มหันไปหา Public Cloud แทน

Alan Waite ยังยืนยันว่า ตอนนี้ OpenStack เป็นความหวังที่ดีที่สุดที่จะให้ Private Workload Control Layer สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบได้ เพราะ OpenStack มี Control plane และ API สำหรับการ Compute ในลักษณะไม่ต่างจากสิ่งที่ Software-defined Networking และ Software-defined Storage ทำสำหรับ Network และ Storage เท่าไหร่ แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์เทียบเท่า AWS และ Public Cloud อยู่ดี จำนวนการใช้งานของ OpenStack ตามจริงมีเพียงแค่หลักร้อย เพราะด้วยข้อจำกัดในการใช้งานและมีไม่กี่เคสที่เหมาะกับ OpenStack

ทว่ายังพอมีหวัง ถ้า OpenStack ผันตัวเองมาเป็น Partner และ Gateway สำหรับการเข้าถึงของ Public Cloud นอกจากนี้ OpenStack ยังต้องการคนกลางที่สามารถจัดระเบียบให้กับความยุ่งเหยิงของ OpenStack และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ ดังเช่นที่ Red Hat เคยทำมาแล้วกับ Linux ซึ่งแน่นอนว่า Red Hat เองก็อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมจะเข้ามาจัดการ OpenStack ด้วยเช่นกัน ช่วงนี้ OpenStack เองก็เริ่มจ่ายเงินปันผลให้กับ Red Hat อย่างจริงจังแล้ว CEO Jim Whitehurst จาก Red Hat ยังเผยว่า OpenStack จ่ายมากว่า 100,000 ดอลล่าร์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งใน Deal ที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย

หนทางของ OpenStack

แม้ว่า Public Cloud จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังที่ Thomas Bittman นักวิเคราะห์จาก Gartner ได้ออกมาเผยว่า Workload ใหม่ๆ ดูมีแนวโน้มจะพึ่งพา Public Cloud กันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าของใหม่ย่อมเติบโตเร็วมากกว่า Workload ของ Data Center แบบเดิมๆ โดยครั้งนี้เร็วกว่าถึง 3 เท่า ทางด้าน Eucalyptus API ที่ทำงานคู่กับ AWS ได้เป็นอย่างดี ดูจะเป็นก้าวที่ชาญฉลาดของ HP แต่สำหรับ OpenStack น่าจะต้องพยายามเพิ่มขึ้นเพื่อร่วมมือกับ AWS

ส่วนความสำเร็จในการใช้งาน OpenStack ของบริษัทชั้นนำอย่าง Walmart เป็นเพียงข้อยกเว้นอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ว่าทุกบริษัทจะทำได้แบบนี้ ซึ่ง OpenStack จำเป็นต้องหาหนทางการทำงานที่เข้ากันได้กับ Amazon และ Microsoft เพื่อผลักดันตัวเองให้เป็นมากกว่าแค่เครื่องบังหน้าของกลุ่ม CIO ที่ยังไม่คุ้นชินกับ คลาวด์

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า Red Hat อาจจะเป็นตัวช่วยเบอร์หนึ่งของ OpenStack ก่อนหน้านี้ Red Hat สามารถรัน Red Hat Enterprise Linux ในหลายระบบปฏิบัติการได้ โดยร่วมมือด้าน Data Center กับ AWS และทางองค์กรเองก็ขยับขยาย Management Service ให้ง่ายขึ้นสำหรับการจัดการ Workload จากหลากหลาย Deployment Target ซึ่งวิธีการพวกนี้น่าจะเอามาปรับใช้กับ OpenStack ด้วยเช่นกัน เป็นการเพิ่มฐานลูกค้าผู้ใช้บริการ OpenStack แม้ว่าภาระจะตกไปอยู่ที่ Red Hat มากกว่า AWS ก็ตาม

Paul Cormier ประธานของ Red Hat แสดงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาของการบริการ PaaS จากผู้ให้บริการรายอื่นไว้ว่า เมื่อเราสร้าง Application ลงบน PaaS ของคนอื่น ไม่ว่าเป็น Google หรือใครตามก็ตาม มันจะคงอยู่ใน Network นั้นๆ ไม่สามารถเอาออกมาได้ ตัว Application จะรันบน Network ของผู้ให้บริการเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ลูกค้าไม่ต้องการ แต่ Red Hat สามารถแก้ปัญหาได้ โดยการสร้าง Platform สำหรับ Different Deployment Target นับเป็นโชคดีของ OpenStack ที่ Red Hat ออกปากแล้วว่าอยากให้ OpenStack ทำงานร่วมกับ AWS ได้ ที่เหลือก็ต้องรอดูกันต่อไปแล้วล่ะ ว่าจะสามารถทำความต้องการนี้ให้เกิดขึ้นจริงได้หรือไม่

 

10 ข้อดีของ Cloud

แต่ก่อน เมื่อเราต้องการใช้ Application ต่างๆจาก Software เราก็จะไปหาโหลดตามอินเตอร์เน็ตติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา แต่เมื่อเกิด Cloud ขึ้นมา ก็ช่วยอำนวยความสะดวกในการที่เราสามารถใช้งาน Application หรือ Program ต่างๆได้ผ่านทาง Internet

ทุกวันนี้เราใช้ Cloud โดยไม่รู้ตัวแน่ๆ ทั้งการอัพเดทสเตตัสบท Facebook และการใช้ธนาคารออนไลน์      แอพโอนเงินต่างๆ Cloud Computing สามารถช่วยแก้ปัญหาได้อย่างง่ายดาย

Cloud Computing กำลังกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเราอย่างรวดเร็ว จากการคาดการณ์ในภาพรวม ราวๆ 90% ของธุรกิจจำเป็นต้องพึ่งพาอยู่บนระบบ Cloud Computing อย่างแน่นอน เรามารู้จัก 10 ข้อดีของการเปรียบมาใช้ Cloud

  1. ยืดหยุ่น : พวกระบบบริการที่เป็น Cloud-based Service ทั้งหลาย น่าจะเรียกได้ว่าเป็นระบบในอุดมคติสำหรับธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวของ Bandwidth อยู่ตลอด
  2. ไม่หวั่นต่อภัยธรรมชาติ : ธุรกิจหน้าใหม่ที่อาจจะขาดทั้งเงินทุนและผู้เชี่ยวชาญ ระบบ Cloud คือ ตัวช่วยแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี ถ้าสำรองข้อมูลไว้บน Cloud ต่อให้เกิดภัยพิบัติใดๆ กับบริษัท ก็ไม่ต้องห่วงว่าข้อมูลจะเสียหาย แถมต้นทุนยังไม่แพงอีกด้วย
  3. อัพเดทซอฟต์แวร์อัตโนมัติ : สุดยอดข้อดีของระบบ Cloud ก็คือ Server ของมันเป็นแบบ Off-premise ไม่ได้มาติดตั้งกินพื้นที่อยู่ในบริษัทของเรา การดูแลทั้งหมด ไม่ว่าจะด้านความปลอดภัย บำรุงรักษา หรืออัพเดทซอฟต์แวร์ก็จะเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่คอยจัดการให้โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้งาน Cloud สามารถเอาเวลาอัพเดทระบบ ไปสร้างสรรค์ธุรกิจของตนได้เต็มที่
  4. ไม่เสียค่าอุปกรณ์ : ลืมค่าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ราคาแพงไปได้เลย เพราะเราไม่ได้มีเครื่อง Server ติดตั้งอยู่กับตัวบริษัท ผู้ใช้บริการระบบ Cloud เพียงแค่จ่ายค่าบริการในส่วนที่ต้องการใช้เท่านั้น
  5. ประสานงานได้ดีขึ้น : ให้ลองนึกภาพ Google Drive เมื่อมีการสร้างหรือแชร์งานกันผ่านระบบ Cloud ทีมงานทุกคนจะสามารถทำงานพร้อมกันได้ทันที และยังอัพเดทแบบ real-time อีกด้วย
  6. อยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ : สามารถทำงานจากที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ขอเพียงแค่มี Internet กับอุปกรณ์สำหรับเข้าถึงก็เพียงพอ เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ส่งผลดีต่องานของเราได้ด้วยการทำงานในสภาพแวดล้อมตามชอบใจ
  7. จัดการเอกสารได้ง่าย Cloud จะช่วยจัดการเอกสารให้ง่ายขึ้นเพราะเอกสารจะถูกเก็บในส่วนกลาง มีการอัพเดทอยู่ตลอดทุกคนสามารถเปิดอ่านเอกสารฉบับล่าสุดที่เพิ่งแก้ไขได้ในทันที
  8. ปลอดภัย : ก่อนหน้าที่จะมีระบบ Cloud การโดนขโมยคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค หรือทำมันหาย ไม่ใช่แค่เสียเครื่องไปอย่างเดียว แต่ยังสูญข้อมูลข้างในซึ่งอาจเต็มไปด้วยความลับของบริษัทอีกด้วย ระบบ Cloud ช่วยให้ปัญหานี้เบาบางลง เพราะเก็บไฟล์งานไว้แบบออนไลน์ 100% หมดห่วงข้อมูลรั่วไหล
  9. เพิ่มอำนาจการแข่งขัน : บางบริษัทเล็กๆ อาจถึงกับต้องถอดใจเมื่อคิดจะลงสนามแข่งกับพวกธุรกิจรายใหญ่ เพราะติดปัญหาความพร้อมทางเทคโนโลยี แต่พอมีระบบ Cloud ก็วางใจได้เลย เพราะ Cloud จะทำให้บริษัทเล็กๆ สามารถใช้เทคโนโลยีและ Application ทันสมัย เพิ่มอำนาจในการแข็งขันได้อย่างเต็มที่ โดยเลือกจ่ายเฉพาะในสิ่งที่ต้องการใช้
  10. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : Cloud ยังช่วยลดปริมาณการใช้งานกระดาษ ด้วยการแชร์ข้อมูลออนไลน์แทนที่การปรินท์อีกด้วย

เพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรก้าวไกล ด้วย Private Cloud

อย่างที่หลายคนรู้ หรือได้ยินผ่านหูมาบ้างเกี่ยวกับ ระบบ Cloud Computing ว่าคือระบบที่ช่วยพวกเราจัดเก็บข้อมูลได้เป็นระเบียบ พร้อมทั้งมีความปลอดภัยสูง โดยผ่านผู้ให้บริการเกี่ยวกับ Cloud ที่เชื่อถือได้ แถมยังมีความเชี่ยวชาญ และระบบ Cloud เองยังมีหลายประเภทแยกย่อยออกไป ซึ่งเราจะหยิบยกมาคุยกันคือ Private Cloud ซึ่งคือหนึ่งในระบบ Cloud ที่เริ่มนิยมใช้กันมากขึ้น

Private Cloud คือ ระบบที่ทำงานอยู่บนระบบ Cloud และได้รับการบริหารจัดการโดยบริษัท เพื่อการใช้งานเพียงแค่ในองค์กรเท่านั้น ซึ่งผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการจะสามารถควบคุมและปรับปรุงในเรื่องของระบบความปลอดภัยได้ด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของระบบ Cloud เลยก็ว่าได้

หากจะพูดถึงข้อดีของ Private Cloud ก็มีหลายอย่างด้วยกัน อาทิ การมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากเป็นการจัดเก็บระบบข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กร ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลไม่เกิดการรั่วไหล รวมไปถึงเรายังสามารถควบคุมระบบได้ง่าย ทั้งยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการได้อีกด้วย

โดยในปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่ให้ความสนใจใช้บริการ Private Cloud นี้ เพราะสะดวกกับการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลให้เป็นระเบียบมากขึ้น โดยที่สามารถโฟกัสกับงานหลักได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูล ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานภายในองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนั้น Private Cloud ยังสามารถทำงานร่วมกับ Hybrid Cloud ที่ถือว่าเป็นระบบที่ผสมผสานระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud เข้าด้วยกัน ทำให้เราสามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้ทั้ง Private Cloud และ Public Cloud ซึ่งสามารถสลับไปมาตามความต้องการได้

เทคโนโลยีก้าวไกลขึ้นขนาดนี้แล้ว หากไม่อยากตกเป็นกลุ่มที่ล้าหลัง ก็ต้องหาตัวช่วยโดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้ได้มากที่สุด เพื่อความก้าวหน้าขององค์กร และประสิทธิภาพที่ดีขึ้นของบริษัท ซึ่ง Private Cloud ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ดีเช่นกัน

 

Public Cloud

ในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีหรือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไปยัง ผู้ใช้ (USERS) ได้มีความสะดวก สบายขึ้น ซึ่งการติดตั้งข้อมูลบนโลกอินเตอร์เน็ตออนไลน์ หรือ เพื่อนๆเรียกกันว่า “คลาวด์สาธารณะ (Public Cloud)” ทำให้ผู้ใช้สามารถแบ่งปันข้อมูลหรือแชร์กันบนโลกออนไลน์ได้ง่ายดายเลยทีเดียวค่ะ การจัดเก็บข้อมูลต่างๆ โดยปกติจะมีความซ้ำซ้อนยุ่งยาก Public Cloud สามารถตอบโจทย์มากในยุคอินเทอร์เน็ตและยุค 3G ไม่ว่าผู้ใช้จะไม่ได้อยู่ที่ทำงาน ก็สามารถทำงานได้ ด้วยการเชื่อมต่อที่เป็น Public Cloud สร้างเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานร่วมกันได้ Public Cloud มีทั้งแบบที่เสียค่าใช้จ่ายและที่ใช้งานได้ฟรี ดังนั้นการใช้ถึงมีสิทธิในการควบคุมทรัพยากรและการอนุญาตจากผู้ให้บริการ

ข้อดีของ Public Cloud
ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานได้ทุกที่ (Accessbillity)
ตามเทคโนโลยีทัน (Newer Technology)
ความสามารถเชื่อถือของระบบสูง ดีกว่าที่เราทำเอง (Relliabillity)
มีเวลาไปดูธุรกิจหลักของตัวเอง (Core Business Focus)
ไม่มีความกังวลกับระบบ IT (Worry Free IT Maintenance)
สามารถแชร์ทรัพยากรและค่าใช้จ่าย (Shared Cost & Resources)
จ่ายค่าใช่จ่ายเท่าที่ใช้บริการ (Pay Pre Use)
Resource มีขนาดใหญ่ สามารถขยายได้ตามความต้องการของผู้ใช้ (On Demand Scalability)

ข้อเสียของ Public Cloud
ความปลอดภัยของข้อมูลในองก์กร Public Cloud ทีเดียวกันร่วมกันคนอื่น
หลายๆองก์กรยังคงไม่เข้าใจ ระบบ Cloud และยังไม่กล้าที่จะใช้บริการ
การควบคุมส่วนใหญ่อยู่ที่ผู้ให้บริการ ทำให้ขาดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ
การใช้งานในระยะยาวอาจจะไม่คุ้มค่า หากขาดการวางแผนที่ดี